แซนโดนตา
แซนโดนตา เป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเขมรชาวไทย
เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะชนชาวเขมรในเขตพื้นที่อีสานตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ
สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที
ย้อนรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ สืบสานขนบธรรมเนียมที่ลูกหลานต้องปฏิบัติต่อบิดามารดา
ครูอาจารย์ และยึดหลักคำสอนทางพุทธศาสนา คำว่า
"แซน" แปลว่า เซ่น ในภาษาไทย โดนตา เป็นคำนามที่ใช้เรียกบรรพบุรุษ
หมายถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10
เป็นวันสาร์ทใหญ่ ชาวเขมรจะเตรียมการเป็นพิเศษ เพราะเป็นวันรวมญาติก็ว่าได้ ลูกหลานไปอยู่แห่งหนใดก็จะกลับมาทำพิธีนี้อย่างพร้อมเพรียง
ส่วนวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบก่อนหน้านี้ถือเป็นวันสาร์ทน้อย
ชนชาวลาวจะถือเป็นวันสาร์ทของเขา
พิธีแซนโดนตา ประเพณีในหมู่บ้านหนองคล้า
กลุ่มชาวเขมร (บ้านหนองคล้ามี 2 ภาษา
ลาว,เขมร ส่วนลาวได้รับอิทธิพลนี้มากทีเดียว) จะเริ่มเตรียมสิ่งของก่อนถึงวันสาร์ท
เช่น บ่มกล้วยให้สุกทันวันห่อข้าวต้ม ผลไม้ต่าง ๆ ไก่ย่าง(ส่วนมากจะย่างทั้งตัว) ปลาย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง อาหารคาวหวานต่าง ๆ
หมาก พลู บุหรี่มวน ธูป เทียน ดอกไม้และอื่น ๆ เมื่อพร้อมแล้วก็จัดสำรับเซ่นไหว้ใส่ภาชนะที่ใหญ่
ๆ เช่น ถาดหรือกระด้ง เพื่อจะได้ใส่เครื่องเซ่นได้เยอะ ๆ และอีกส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับทำบุญที่วัด
วันขึ้น 14 ค่ำเดือนสิบ ผู้ที่เป็นบุตรหลานไม่ว่าจะเป็นเขย
สะใภ้ จะต้องส่งข้าวสาร์ทหรือเครื่องเซ่นนี้ไปให้พ่อแม่
ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อให้ท่านได้ใช้เครื่องเซ่นนั้นทำพิธีเซ่นต่ออีกทีหนึ่ง
ส่วนปู่ ย่า ตา ยาย ก็จะมอบสิ่งของตอบแทนให้ จะเป็นผ้าซิ่น ผ้าไหม
หรือสิ่งใดก็แล้วแต่ เป็นรางวัลให้ลูกหลานผู้รู้จักกตัญญู พอตอนเย็นวันนี้จะเริ่มทำพิธีเซ่นไหว้กัน เมื่อพี่น้องลูกหลานมาพร้อมหน้ากันแล้วก็จุดธูปเทียน
โดยผู้อาวุโสที่สุดจะเป็นผู้บอกกล่าวอัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษ
คนที่เป็นหมอพราหมณ์จะรู้ขั้นตอนนี้ดีจะมีคำกล่าวคำเชิญเฉพาะ
แต่ผู้ที่ไม่เป็นก็เพียงแค่กล่าวเอ่ยชื่อ
นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้อง มีศักดิ์เป็นปู่เป็นทวดอย่างไรก็เอ่ยให้ถูกต้องก็ใช้ได้แล้ว
และคนกล่าวอาวุโสรองลงมาตามลำดับ จะต้องเอ่ยชื่อ นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้องครบถ้วนทุกคน
เพื่อแสดงความรำลึกกตัญญู ในขณะกล่าวเชิญก็กรวดน้ำไปด้วย
เมื่อครบทุกคนแล้วก็หยุดพักระยะหนึ่ง แล้วทำพีธีต่ออีกจนครบคนละ
3 รอบ รอบสุดท้ายนี้ให้รวมหยาดน้ำพร้อมกันเป็นอันเสร็จพิธี
แล้วนำเครื่องเซ่นส่วนหนึ่งออกไปโปรยข้างนอกเพื่อเผื่อแผ่แก่ผีพเนจร
ผีไม่มีญาติ ผีอื่น ๆ ตามความเชื่อ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่จะยังทำพิธีเซ่นไหว้และกรวดน้ำนี้เป็นระยะ
ๆ บางคนก็ทำตลอดคืน
ตื่นนอนเมื่อไรก็เซ่นไหว้กันตอนนั้น ดึก ๆ เงียบสงัดจะได้ยินเสียงบ้านใกล้เรือนเคียงร้องเรียกวิญญาณบรรพบุรุษดังมา
เป็นระยะ ๆ บางครั้งก็ให้รู้สึกโหยหวนวังเวงน่าขนลุกเหมือนกัน
พอได้เวลาตีสาม หรือเวลาประมาณ 3 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น(แรม 15 ค่ำเดือน 10 )
ชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นนี้ไปแห่เวียนรอบศาลาวัดหรืออุโบสถ 3
รอบ แล้วนำขึ้นไปให้พระสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลทำพิธีกรรมทางศาสนา
โดยนำขนมข้าวต้ม กล้วยเป็นกระบุง ไก่ย่างเป็นตัว
อาหารคาวหวานผลไม้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวถวายพระแล้ว พระจะได้ฉันมื้อนี้แต่เช้ามืด
เครื่องเซ่นไหว้ที่นำไปวัด
เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นที่พระสวดแล้วไปวางตามสถาน ที่ที่เหมาะสมเช่น
ตามรั้ววัด ตามธาตุเจดีย์ หรือตามโคนไม้ เพื่อผีวิญญาณจะได้มากิน
บางคนก็นำออกไปวางตามไร่นาของตน ตามที่คิดว่าน่าจะมีผีเจ้าสถิตย์อยู่
เสร็จแล้วก็กลับบ้าน ไปเตรียมข้าวและอาหารมาทำบุญตักบาตร วันนี้วันพระ แรม
15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนจะร่วมใจกันทำบุญประเพณีแซนโดนตาครั้งนี้
โดยพระสงฆ์จะได้รับภัตตาหารฉันในมื้อเช้านี้อีก ส่วนตอนเที่ยงก็จะได้รับภัตตาหารเพลปกติ รวมวันนี้พระจะได้ฉันอาหาร
3 มื้อ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามประเพณีนี้
ทำให้รู้จักการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สืบสานพระพุทธศาสนา มีวัฒนธรรมและจารีตที่งดงา
อันนี้เคยเห็น แล้วที่บ้านก็เคยทำด้วย
ตอบลบเหมือนกัน
ตอบลบมีสาระดีมากคะ
ตอบลบทำทุกปีเลย บ้านเราเน๊าะ
ตอบลบจิงด้วย เขาก็เข้าร่วมทุกปี
ตอบลบ