จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น



 แหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น

ปราสาทภูมิโปน
            ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์   ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน ๔ หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ ๓ หลัง และก่อศิลาแลง ๑ หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลัง ปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกายเช่นเดียว กับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเคารพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับ พื้นห้อง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๗๗ (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง ๔๙ กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๔ (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก ๑๐ กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

ปราสาทภูมิโปน






                ในด้านโบราณสถานที่สำคัญ  อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยเจนละ  ก็คือปราสาทภูมิโปน  ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม  อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์  ปราสาทหลังนี้ถึงแม้ว่านักโบราณคดีจะลงความเห็นว่าเป็นแบบไพรกะเม็ง  ซึ่งเป็นยุคต่อจากแบบสัมโบร์ไพรกุก  แต่ถ้าหากเราเปรียบเทียบรูปแบบกับปราสาทสัมโบร์ไพรกุก  ที่ประเทศกัมพูชา   แล้วจะเห็นได้ว่าแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย  จึงทำให้เชื่อว่าเป็นแบบสัมโบร์ไพรกุกมากกว่า
ปราสาทภูมิโปน    ชื่อปราสาทมีความหมายว่า  ที่หลบซ่อน
                มีเรื่องเล่าว่า พระธิดาของกษัตริย์ ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม
ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยปราสาทอิฐสามหลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีกหนึ่งหลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ดังนี้
                ปราสาทอิฐหลังที่ ๑ อยู่ทางด้านเหนือสุด มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม เหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายสลักลวดลาย ลักษณะเทียบได้กับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร แบบไพรเกมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓


  ปราสาทอิฐหลังที่ ๑


                ปราสาทหินหลังที่ ๒ อยู่ต่อจากปราสาทหินหลังแรกมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตูหินทราย




  ปราสาทหินหลังที่ ๒ (ปัจจุบัน)
                                                   วิหารที่ปราสาทภูมิโปน ถ่ายจากด้านหน้า (ภาพ: มานิต วัลลิโภดม, ๒๕๐๔) 

                                                                                              

               ปราสาทหินหลังที่ ๓ หรือปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสไม่ย่อมุม มีบันได และประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก  เสาประดับ กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปเป็นลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง เทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ ๑ ได้พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท
                

 ปราสาทหินหลังที่ ๓ หรือปรางค์ประธาน


ฐานปราสาทศิลาแลง อยู่ต่อจากปราสาทประธานมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเท่านั้น
ปราสาทหลังนี้และปราสาทหลังที่สองคงสร้างในสมัยต่อมาซึ่งไม่อาจกำหนดอายุได้ ชัดเจน จากส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เสาประดับ กรอบประตูที่เหลืออยู่เป็นเสาแปดเหลี่ยมอันวิวัฒนาการมาจากเสากลมในสมัยก่อน เมืองนคร ตลอดจนการก่อฐานปราสาทด้วยศิลาแลง ทำให้สามารถกำหนดได้ว่า ปราสาททั้งสองหลังนี้คงจะสร้างขึ้นหลังจากปราสาทประธาน และปราสาทหลังที่หนึ่ง

  ฐานปราสาทศิลาแลง อยู่ต่อจากปราสาทประธาน

               
ตำนานปราสาทภูมิโปน เป็นเรื่องเล่าที่คนแก่เล่าสืบต่อกันมา สั้นบ้างยาวบ้าง มีการต่อเติมเสริมแต่งตามแต่ผู้เล่าจะแถมเอา แต่โครงสร้างหลักๆ คล้ายกัน เรื่องต่อไปนี้เล่าโดย นายบุญ ภาวิสิทธิ์ ราษฎรบ้านตาพราม จำตำนานเรื่องนี้ขณะบวชอยู่วัดเทพคีรีอุดม ระหว่าง พ.ศ. 2474 –2476 นายบุญ ภาวิสิทธิ์เกิดปี พ.ศ. 2464
          เรื่องเล่าโดยย่อ ดังนี้ เมืองภูมิโปน คือเมืองที่สร้างไว้เพื่อการหลบซ่อน เมือเดิมเมืองภูมิโปนมีมาก่อนแล้ว โดยกษัตริย์ขอมได้สร้างเมืองนี้ไว้เพื่อการหลบซ่อนตัวในยามสงคราม โดยภูมิโปนเป็นภาษาเขมร แปลว่าเมืองแห่งการหลบซ่อนสร้างไว้เป็นเมืองลัย ครั้งหนึ่งกษัตริย์ขอมได้ส่งราชธิดาหนีภัยมาหลบตัวอยู่ที่ภูมิโปนโดยมีพระ นางมีชื่อว่า ศรีจันทร์ทรา แต่คนทั่วไปเรียกว่า เนียง ด็อฮ ทมหรือพระนางนมใหญ่

 

          สภาพโดยทั่วไป ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่บนเนินสูงกลางหมู่บ้านภูมิโปน ซึ่งเป็นชุมชนเมืองโบราณ ทีมีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบ มีสระน้ำโบราณขนาดใหญ่ที่ออกแบบซับซ้อนหลายสระ
ด้านหน้าปราสาท ทางทิศตะวันออกเริ่มตั้งแต่สระลำเจียก สระตา สระกนาล ที่ซ้อนอยู่ภายในสระตาอีกชั้นหนึ่ง สระตราวที่อยู่ถัดจากสระตา



               ภาพดาวเทียมปราสาทภูมิโปน   เป็นภาพจาก Google Earth เอามาให้ดูจะได้เห็นว่าบริเวณรอบๆ โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทภูมิโปนมีลักษณะคล้ายๆ สระน้ำอยู่จำนวนมาก
 
          มีพิพิธภัณฑ์ ของโบราณ จำนวน 1 แห่ง อยู่ทีพิพิธภัณฑ์ โรงเรียนดมวิทยาคาร
          ที่อยู่
โรงเรียนดมวิทยาคาร ต.ดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๕๐
โทรศัพท์: ๐๔๔ ๕๙๐๓๘๑, ๐๘๑ ๗๖๐๑๗๔๓

           ผู้รับผิดชอบ
ผู้อำนวยการโรงเรียนดมวิทยาคาร

           กิจกรรมที่ดำเนินการ
จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา และ โบราณวัตถุ ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ของคนในสมัยโบราณ
 

 


7 ความคิดเห็น:

  1. บรรยากาศดีแท้ที่ไหนเหล้า

    ตอบลบ
  2. ปราสาทภูมโปนก็เคยไป แถมยังเคยดูการแสดงด้วย ตอนที่ตัก บงกช มาแสดง งามมากกกก

    ตอบลบ
  3. ปราสาทสวยๆอย่างนี้อยู่แถวๆบ้านเราเอง

    ตอบลบ
  4. ปราสาทบ้านเรา#_#
    จากแผนที่ไหนบ้านเรา

    ตอบลบ
  5. เคยไปแร้ววววววววววววว สวยงามม๊วฟฟฟ

    ตอบลบ
  6. ขี่ผ่านทุกวันเลย สวยมาก

    ตอบลบ
  7. ได้ความรู้เยอะเลย

    ตอบลบ