ประวัติเมืองสังขะ
ประวัติความเป็นมาของเมืองสังขะปี
พ.ศ. 2302
ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
พระยาช้างเผือกได้แตกโรงจากเมืองหลวงไปอยู่ในป่าดง แขวงเมืองพิมาย
เซียงฆะหัวหน้าหมู่บ้านโคกอัจจะ พร้อมหัวหน้าหมู่บ้านคนอื่น ได้อาสาไปติดตามช้างเผือกกลับมาได้จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเซียงฆะเป็น “ พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ” และยกฐานะบ้านโคกอัจจะ เป็นเมืองสังฆะให้ปกครองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2306
- พ.ศ. 2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไป
ทางบกสมทบกับกองกำลังเกณฑ์เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะและเมืองขุขันธ์ ยกไปตีนครจำปาศักดิ์
และเวียงจันทร์ได้ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเจ้าเมืองทั้ง 3 ขึ้น เป็นตำแหน่ง พระยา พ.ศ. 2349 ยกฐานเมืองทั้ง
3 ขึ้น ตรงต่อกรุงเทพพ.ศ. 2371 ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้พระสังฆะฯ (ทองด้วง) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทน
เจ้าเมืองขุขันธ์ซึ่งถูกกบฏจับฆ่าเสีย พ.ศ. 2450 มณฑลอีสานแบ่งออกเป็น
4 บริเวณ สำหรับบริเวณสุรินทร์มีเมืองในบังคับบัญชา 2
เมือง คือ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังฆะ เมืองสังฆะแบ่งเป็น 3
อำเภอ คือ อำเภอสังขะ อำเภอศีขรภูมิและอำเภอจงกัลป์ พ.ศ. 2455
มณฑลอีสานถูกแบ่งเป็นมณฑลอุบลราชธานี
และมณฑลร้อยเอ็ดมณฑลอุบลราชธานี มีเมืองในสังกัด 3 เมือง คือ
เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์และเมืองสุรินทร์
ส่วนเมืองสังขะถูกยุบเหลืออำเภอสังขะ และย้ายที่ตั้งอำเภอไปตั้งที่บ้านเขวา ขึ้น จังหวัดสุรินทร์มาจนทุกวันนี้
คำขวัญประจำอำเภอ
สังขะเมืองสะอาด ปราสาทงดงาม
ทับทิมสยามศูนย์สี่ เขียวขจีป่าสน
สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอสังขะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 14 องศา 20 ลิปดา - 14 องศา 45 ลิปดาเหนือ
เส้นแวง 103 องศา 40 ลิปดา - 104
องศาตะวันออก ลักษณะที่ตั้งของอำเภอสังขะ
อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 51 กิโลเมตร
พื้นที่เป็นที่ราบ ผลจากของการยกตัวของเปลือกโลก ทำให้พื้นที่ของอำเภอสังขะ
สูงทางด้านทิศใต้และลาดเอียงสู่ทิศเหนือ ดังนั้นลำน้ำจึงไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือลงสู่แม่น้ำมูล
อำเภอสังขะไม่มีลำน้ำขนาดใหญ่มีเพียงลำห้วย คือ ลำห้วยทับทัน และลำห้วยเสน นอกนั้นเป็นลำห้วยที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนเนื่องจากพื้นที่ลาดเอียงมาก
เมื่อฝนตกน้ำจึงไหลลงไปสู่ที่ต่ำหมด พื้นที่จึงไม่สามารถรับน้ำหรือเก็บกักน้ำได้โดยธรรมชาติ
ประชากร
ประชากรดั้งเดิมอำเภอสังขะ
มีชนกลุ่มใหญ่อยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มชนชาวส่วยหรือกูย และกลุ่มชนชาวเขมร ส่วนชุมชนลาวจะเป็นชุมชนเข้ามาตั้งรกรากใหม่
หมู่บ้านที่เกิดขึ้นใหม่ไม่เกิน 60 ปี
จะประกอบไปด้วยชุมชนชาวลาว กูย และเขมรรวมกัน
ประชากรทั้งสามกลุ่มจะผูกพันกันทางสังคม โดยต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและผูกพันกัน
ประสานความเป็นพี่น้องกันอย่างแนบแน่นด้วยการเกี่ยวพันธ์กันในการทางแต่งงาน จึงมีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน
ไม่เคยพบปัญหาของการใช้ภาษาที่ต่างกันแต่อย่างไร รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสังขะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำดวนและอำเภอศรีณรงค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอขุขันธ์ (จังหวัดศรีสะเกษ) และอำเภอบัวเชด
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดโอดดาร์เมียนเจีย
(ราชอาณาจักรกัมพูชา)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกาบเชิงและอำเภอปราสาท
การแบ่งเขตการปกครอง
เมืองสังขะเมื่อก่อนมีฐานะเทียบเท่าจังหวัดในปัจจุบันได้ถูกยุบฐานะเป็น
อำเภอเมื่อ พ. ศ. 2450 ต่อมาบางส่วนของพื้นที่ถูกแยกไปตั้งเป็นอำเภอ
เช่น อำเภอลำดวน อำเภอบัวเชด อำเภอศรีณรงค์ และบางตำบล เช่น ตำบลบ้านด่าน อำเภอกาบเชิง
เป็นต้น
การแบ่งการปกครอง ปัจจุบันอำเภอสังขะแบ่งการปกครองเป็น 12 ตำบล 187 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 1,009 ตารางกิโลเมตรดังนี้
การแบ่งการปกครอง ปัจจุบันอำเภอสังขะแบ่งการปกครองเป็น 12 ตำบล 187 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 1,009 ตารางกิโลเมตรดังนี้
1. ตำบลสังขะ (Sangkha)
2. ตำบบลขอนแตก (Khon Taek)
3. ตำบลดม (Dom)
4. ตำบลพระแก้ว (Phra Kaeo)
5. ตำบลบ้านจารย์ (Ban Chan)
6. ตำบลกระเทียม (Krathiam)
7. ตำบลสะกาด (Sakat)
8. ตำบลตาตุม (Ta Tum)
9. ตำบลทับทัน (Thap Than)
10. ตำบลตาคง (Ta Khong)
11. ตำบลบ้านชบ (Ban Chop)
12. ตำบลเทพรักษา (Thep Raksa)
2. ตำบบลขอนแตก (Khon Taek)
3. ตำบลดม (Dom)
4. ตำบลพระแก้ว (Phra Kaeo)
5. ตำบลบ้านจารย์ (Ban Chan)
6. ตำบลกระเทียม (Krathiam)
7. ตำบลสะกาด (Sakat)
8. ตำบลตาตุม (Ta Tum)
9. ตำบลทับทัน (Thap Than)
10. ตำบลตาคง (Ta Khong)
11. ตำบลบ้านชบ (Ban Chop)
12. ตำบลเทพรักษา (Thep Raksa)
อยากรู้ที่เที่ยวของอำเภอสังขะน่ะหาให้หน่อยน่ะแล้วพาไปด้วย
ตอบลบก็ปราสาทภูมิโปนไง ใครจะไปบ้าง
ตอบลบไปเที่ยวสังขะกัน
ตอบลบเขาอยู่อำเภอสังขะ
ตอบลบเขาก็อยู่
ตอบลบ