ที่ตั้ง
จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างลองติจูด 103 และ 105องศาตะวันออก ละติจูด 15 และ 16 องศาเหนือ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 420 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออก
ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ และทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
คือ
พระอินทร์ทรงประทับช้าง
- พระอินทร์ หมายถึง เทพเจ้าผู้ทรงเก่งกาจสามารถ
- ช้าง หมายถึง เมืองที่มีช้างอยู่มากมาย
- ปราสาทหิน คือ ปราสาทศีขรภูมิ
ตราจังหวัด กำหนดสัญลักษณ์ประกอบด้วย พระอินทร์
ประทับขัดสมาธิบนหลังช้าง หัตถ์ขวาทรงตรี หัตถ์ซ้ายทรงพระแสงขอช้าง มีภาพปราสาทสลักปรักหักพังเป็นฉากเบื้องหลัง
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา (Fagraea fragrans)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กันเกรา (Fagraea fragrans)
คำขวัญประจำจังหวัด
ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย
ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม
ความหมายของคำขวัญ
- ถิ่นช้างใหญ่ หมายถึง สุรินทร์มีศูนย์คชศึกษามีช้างอยู่มาก เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
- ผ้าไหมงาม หมายถึง สุรินทร์มีการทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่อในเรื่อการทอผ้าไหมปักทอง ที่สวยงามมากติด 1 ใน 10 เมืองทอผ้าไหมในประเทศไทยที่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์
- ประคำสวย หมายถึง สุรินทร์มีการประคำเงินขึ้นชื่อ ที่อำเภอเขวาสินรินทร์
- ร่ำรวยปราสาท หมายถึง สุรินทร์ มีปราสาทกระจายอยู่มากที่สุดในประเทศไทย และมีปราสาทที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยคือปราสาทภูมิโปน
- ผักกาดหวาน หมายถึง สุรินทร์มีการทำผักกาดดองที่หวานอร่อยขึ้นชื่อ
- ข้าวสารหอม หมายถึง สุรินทร์มีข้าวสารที่ปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และอร่อยหอมที่สุดในโลก
- งามพร้อมวัฒนธรรม หมายถึง ดูจากการเล่นสงกราณต์ของชาวสุรินทร์และงานประเพณีมากมาย
แล้วธงของจังหวัดสุรินทร์ล่ะ ทำไมไม่เอามาด้วย สวยมากเลย
ตอบลบจะมีใครเคยเห็นธงประจำจังหวัดสุรินทร์ไหม...หนอๆ...
ตอบลบมีด้วยเหรอ ธงจังหวัดน่ะ
ตอบลบนั้นนะสิ
ตอบลบดีมากเลย
ตอบลบบางเรื่องไม่เคยรู้มาก่อนเลย
สุดยอด