จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด



พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด ของชาวเขมร
     พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษของชาวเขมรแถบอีสานตอนล่าง ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก โดยมีความเชื่อว่า วิญญาณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีปีศาจ และดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่จริง




 
      ในอดีตทุกชุมชนหมู่บ้านชาวเขมรสุรินทร์ ต่างร่วมกันจัดงานพิธีกรรมปัญโจลมะม็วดระหว่างหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ไปถึงก่อนฤดูการผลิตใหญ่ ทำนาเพื่อเป็นศิริมงคล กระทั่งเป็นประเพณีประจำปีของชุมชนสืบต่อ ๆ กันมาถึงปัจจุบัน

      พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด โดยหลัก ๆ แล้วชาวเขมรสุรินทร์ มักจะนำพิธีกรรมดังกล่าวมาใช้ เพื่อการรักษา การเจ็บไข้ได้ป่วย และเนื่องจากในพิธีกรรมนี้ มีการใช้ศาสตร์ดนตรี กันตรึม วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ เพื่ออัญเชิญ จิตวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาประทับที่ร่างทรงของแม่มด ปัจจุบันจึงนิยมเรียกความหมายพิธีการปัญโจลมะม็วดนี้ว่าการรักษาด้วยเสียงดนตรี



      ความเชื่อในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด แม้จะมีการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน หากแต่ความนิยมและศรัทธาเริ่มเสื่อมคลายลงไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาย้อนหลัง ราว 30 ปีที่ผ่านไป โดยกระแสความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์ เข้ามาแทนความเชื่อเรื่อง ปัญโจลมะม็วด

      พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จึงกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยโบราณ ไสยศาสตร์ ฯ ไม่เป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธาในหมู่คนรุ่นใหม่ หากแต่ความเชื่อศรัธทาในหมู่ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ยังคงเชื่อศรัทธา จากผลการ รักษาอันปรากฏที่หายจากการเจ็บป่วย ด้วยวิธีการปัญโจลมะม็วด แม้จะไม่แม่นยำ 100 % แต่ก็สามารถแก้ปัญหาอาการเจ็บไข้บางชนิดที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถเยียว ยารักษาได้เช่นกัน

      คุณตาโบราณ จันทร์กลิ่น ครูเพลงกันตรึมดนตรีประกอบพิธีปัญโจลมะม็วด แห่งบ้านดงมันกล่าวว่า พิธีกรรมปัญโจลมะม็วดเป็นการเล่นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเช่น บางครั้งชาวบ้านไปโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บปวด แขน ขา ร่างกาย ฯลฯ แพทย์หาสาเหตุไม่เจอ แต่เมื่อมารักษาโดยพิธีกรรมปัญโจลมะม็วดก็จะหายจากการเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการนี้ได้มีการสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษแล้ว

      ท่านยังบอกว่า แม้ในกรุงเทพ พิธีกรรมปัญโจลมะม็วดจากจังหวัดสุรินทร์ก็มีการไปเล่นอยู่เป็นประจำ ความห่วงใยถึงวัฒนธรรมประเพณีดังจะสูญหายไป ปัจจุบันท่านได้พยายามสร้างเยาวนคนรุ่นใหม่ฝึกฝนศิลปะวัฒนธรรมอันงดงามนี้สืบทอดต่อไปตาม ความเชื่อของชาวเขมร พวกเขาเชื่อว่าในอิทธิพลของพลังแห่งจักรวาล ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และสรรพสิ่ง ล้วนเกิดจากอิทธิพลอำนาจของจักรวาล ดังนั้นต่างสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ความสมดุลจะเกิดขึ้นได้ด้วยจิตวิญญาณและศรัทธา

      ปัญโจลมะม็วด(ปัญโจล แปลว่า การเข้าทรง) (มะม็วด แปลว่า แม่มด) หมาย ถึงการเชิญจิตวิญญาณทั้งปวงเข้าสู่ร่างทรงเรียกว่า กรู มะม๊วด เพื่อขจัดสิ่งเลวร้ายต่างๆ รวมถึงการถอนอาคมตุณไสย์จากผู้ประสงค์ร้าย ขณะเดียวกัน พิธีกรรมก็จะทำพิธีขอขมาลาโทษต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิญญาณของบรรพบุรุษที่ได้ล่วงละเมิดโดยมิได้ตั้งใจ ตลอดจนการเสริมศิริมงคล ปกป้องคุ้มครองให้วิถีการดำเนินชีวิตได้ร่มเย็นเป็นสุข

 เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบพิธี ได้แก่
1.  เครื่องบวงสรวงซึ่งทำจากก้านกล้วยจำนวน 2 ชุด
     ชุดที่ 1  มี 3 ขาซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของดวงวิญญาณที่เป็นเพศชาย
     ชุดที่ 2  มี 4 ขา จะเป็นตัวแทนของดวงวิญญาณที่เป็นเพศหญิง
2. ดอกไม้ธูปเทียน เงิน ทอง
3.หัวหมู 1 หัว ไก่ 1 ตัว ขวดน้ำ 2 ขวด เหล้า บุหรี่
4. เครื่องเคียเปมี ขนม ข้าวต้มกล้วย ข้าวตอก ไข่ไก่ ขนมฝักบัว
5. เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ มีดดาบไม้ 1 เล่ม
6. พานบายศรี หมากพลู ชุดขัน 5 ขันเงิน ข้าวสาร 1 ขันกระบุงหรือกระเชอ ข้าวเปลือก ฯลฯ



ขั้นตอนพิธีกรรม
     กรู มะม๊วด จะเริ่มพิธีบวงสรวงสิ่งศักด์สิทธิ์ และวิญญาณบรรพบรุษ เพื่อมาประทับทรงในร่างของ กรู มะม๊วด ขณะเดียวกันวงกันตรึมเริ่ม มโหรีปี่พาดบรรเลงประกอบพิธีกรรม
กรู มะม็วด เป็นผู้นำชาวบ้านที่สนใจ และลูกศิษย์ที่ติดตามเพื่อรับการถ่านทอดทางจิตวิญญาณ เข้าสูพิธีกรรม กรูมะม็วดจะเป็นผู้คอยแนะนำมะม็วดใหม่ ให้เล่นไปตามลำดับขั้นตอนของพิธีกรรม จากนั้นพิธีกรรม กาแปผู้ เล่น จะร่ายรำดาบหน้าปะรำพิธีฟันดาบขับไล่เหล่าภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายเสนียด จัญไรนานาออกไป มะม็วดแต่ละคนจะมีผู้ใกล้ชิดซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของฝ่ายมนุษย์ จะติดต่อไถ่ถามกับจิตวิญญาณที่เข้ามาประทับร่างของมะม็วด การ ร่ายรำ หลังจากการเตรียมพร้อมเข้าทรงเรียบร้อยทั้งหมู่คณะเเล้วแม่มดทุกคนจะร่วมกัน ฟ้อนรำรอบจวมครูหรือเครื่องบัตพลีที่วางกลางปะรำ ด้วยท่วงท่าและบทเพลง ตามแบบวัฒนธรรมเขมร แถบเทือกเขาพนมดองเร็ก 

มีท่ารำต่างๆเช่น
- ท่าร่ายรำ กั๊จปกา(การเด็ดดอกไม้ไหว้ครู) เป็นการร่ายรำเพื่อแสดงการคารวะต่อครูบาอาจารย์
- ท่าร่ายรำ กาบเป”(ฟันมีดดาบ) ขณะที่วิญญาณภูติผีชั่วร้ายเข้าสิงมะม็วด มะม็วดจะร่ายรำด้วยท่วงทำนองขึงขังดุร้าย ฟันมีดาบ (ทำด้วยไม้) ฟันออกไปในอากาศ บางครั้งไล่ฟันผู้ที่ร่วมในพิธีก็มี ผู้เข้าทรงจะรำและมีการ กาบ เป”(ฟันเป)ด้วย คือเครื่องประกอบการเข้าทรงทำจากต้นกล้วย และมีเครื่องเคียเป ซึ่งประกอบด้วยขนม ข้าวต้มกล้วย ข้าวตอก ดอกไม้ การรำเช่นนี้เป็นการ
- ท่าร่ายรำ จักจะเวีย อมตู๊ก (ท่าพายเรือ) ในระหว่งการร่ายรำท่านี้ จะมีการทำพิธีการ อุ้มกระเซอตะออ เพื่อแสดงการขอบคุณต่อบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์ทั้งปวง
- ท่าร่ายรำ ซาร์ปดาน(ท่าลาหรือรื้อปะรำ)เป็นท่าร่ายรำอำลาสิ้นสุดพิธีกรรม


      มะม็วด และผู้ที่เข้าร่วมเล่นในพิธี จะแสดงการร่ายรำ ตามขั้นตอนพิธีกรรมต่อ เนื่องตามจังหวะวงปี่พาทย์บรรเลง บางครั้งมะม็วดต้องการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายใหม่ เจ้าภาพก็ต้องจัดหามาให้มะม็วดเลือก เมื่อได้เครื่องแต่งกายใหม่แล้ว ก็จะร่ายรำไปเรื่อยๆจนพอใจ เมื่อวิญญาณออกจากร่างทรง มะม็วดก็จะกัดเทียนที่จุดไว้ให้ดับ กลับสู่ร่างมนุษย์ดังเดิม

เครื่องดนตรีประกอบ
      คณะวงดนตรี กันตรึมที่ร่วมประกอบนพิธีกรรม จะใช้ท่วงนองนองเพลงบรรเลงปี่พาทย์ เป็นหลักบางแห่งอาจมี เจรียงเบริญร่วมแสดงประอบด้วย เครื่องดนตรีได้แก่ ฆ้อง กลองฉิ่งซอ(ตรัว) ปี่อ้อ แคนฯ

การวินิจฉัยสาเหตุการเจ็บป่วย
      การ โบลในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วดเพื่อหาสาเหตุที่มาของการเจ็บป่วย และวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ประชาชน มีความเชื่อว่าการเจ็บป่วย เกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ผิดผี ผิดครู ผีป่า ผีโป่ง ผีตายโหง ตายห่า เจ้าที่เจ้าทาง เทพาอารักษ์ ฯลฯ
2. เกิดจากไสยศาสตร์ อาคม คุณไสย์
3. วิญญาณร้ายสิงสู่
4. อาการเจ็บป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่หาย

วิธีการรักษามีวิธีการ
1. ใช้รากไม้สมุนไพร สมุนไพร
2. การเสกเป่าคาถาอาคมด้วยลมปาก น้ำหมากและรดน้ำมนต์
3. เป่าเสดาะเคราะห์ ถอนคุณไสย
4. การทำพิธีเซ่นไหว้ขอขมาลาโทษต่อการล่วงละเมิดผีบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่ได้กระทำโดยมิได้ตั้งใจ ให้ถูกต้อง ความเจ็บป่วยไข้ก็จะหายกลับสู่ปกติฯลฯ

      ปัญโจลมะม็วด พิธีกรรม รักษาการเจ็บป่วยด้วยเสียงดนตรีนี้ เชื่อว่าศาสตร์ด้านนี้ ได้อยู่คู่สังคมมนุษย์โลก มาแต่บรรพกาลและมีการวิวัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ สั่งสมเป็นอารยธรรม วัฒนธรรม ที่หลากหลายด้วยรูปแบบ พิธีกรรม ดนตรี เครื่องแต่งกาย เครื่องเซ่นไหว้ฯลฯ และซึมซับเข้าไปในวิถีการดำเนินชีวิต สืบทอดด้วยแรงศรัทธามาถึงยุคปัจจุบัน สังคมโลกยุควิทยาศาสตร์ที่กำเนิดเมิ่อราว 500 ปีและรุ่งเรืองสูงสุดถึงปัจจุบัน ก็มีอายุราว 100 ปี ดังนั้นจึงยังมิอาจทอดทิ้งศาสตร์ดังกล่าวได้ เพราะการเจ็บป่วยหลายโรคที่วิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่หาย กลับรักษาให้หายขาดได้ด้วยพิธีกรรม ปัญโจลมะม็วดโลกยุคหลังวิทยาศาสตร์คาดว่าในอีก  20 ปีข้างหน้า พิธีกรรม ปัญโจลมะม็วดอาจจะถูกพัฒนาให้การรักษาโลกแม่นยำมากขึ้นก็เป็นได้

แซนโดนตา(ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นเรา)


แซนโดนตา
          แซนโดนตา   เป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเขมรชาวไทย  เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะชนชาวเขมรในเขตพื้นที่อีสานตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  สุรินทร์  บุรีรัมย์ เป็นต้น  เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ย้อนรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ  สืบสานขนบธรรมเนียมที่ลูกหลานต้องปฏิบัติต่อบิดามารดา ครูอาจารย์  และยึดหลักคำสอนทางพุทธศาสนา คำว่า "แซน" แปลว่า เซ่น ในภาษาไทย  โดนตา  เป็นคำนามที่ใช้เรียกบรรพบุรุษ หมายถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 เป็นวันสาร์ทใหญ่ ชาวเขมรจะเตรียมการเป็นพิเศษ  เพราะเป็นวันรวมญาติก็ว่าได้  ลูกหลานไปอยู่แห่งหนใดก็จะกลับมาทำพิธีนี้อย่างพร้อมเพรียง  ส่วนวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบก่อนหน้านี้ถือเป็นวันสาร์ทน้อย ชนชาวลาวจะถือเป็นวันสาร์ทของเขา





          พิธีแซนโดนตา  ประเพณีในหมู่บ้านหนองคล้า กลุ่มชาวเขมร  (บ้านหนองคล้ามี 2 ภาษา ลาว,เขมร  ส่วนลาวได้รับอิทธิพลนี้มากทีเดียว)   จะเริ่มเตรียมสิ่งของก่อนถึงวันสาร์ท  เช่น บ่มกล้วยให้สุกทันวันห่อข้าวต้ม ผลไม้ต่าง ๆ ไก่ย่าง(ส่วนมากจะย่างทั้งตัว) ปลาย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง  อาหารคาวหวานต่าง ๆ หมาก พลู บุหรี่มวน  ธูป เทียน ดอกไม้และอื่น ๆ   เมื่อพร้อมแล้วก็จัดสำรับเซ่นไหว้ใส่ภาชนะที่ใหญ่ ๆ เช่น ถาดหรือกระด้ง เพื่อจะได้ใส่เครื่องเซ่นได้เยอะ ๆ และอีกส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับทำบุญที่วัด






             วันขึ้น 14 ค่ำเดือนสิบ  ผู้ที่เป็นบุตรหลานไม่ว่าจะเป็นเขย  สะใภ้  จะต้องส่งข้าวสาร์ทหรือเครื่องเซ่นนี้ไปให้พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย  เพื่อให้ท่านได้ใช้เครื่องเซ่นนั้นทำพิธีเซ่นต่ออีกทีหนึ่ง  ส่วนปู่ ย่า ตา ยาย ก็จะมอบสิ่งของตอบแทนให้ จะเป็นผ้าซิ่น ผ้าไหม หรือสิ่งใดก็แล้วแต่ เป็นรางวัลให้ลูกหลานผู้รู้จักกตัญญู   พอตอนเย็นวันนี้จะเริ่มทำพิธีเซ่นไหว้กัน  เมื่อพี่น้องลูกหลานมาพร้อมหน้ากันแล้วก็จุดธูปเทียน  โดยผู้อาวุโสที่สุดจะเป็นผู้บอกกล่าวอัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษ  คนที่เป็นหมอพราหมณ์จะรู้ขั้นตอนนี้ดีจะมีคำกล่าวคำเชิญเฉพาะ  แต่ผู้ที่ไม่เป็นก็เพียงแค่กล่าวเอ่ยชื่อ นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้อง มีศักดิ์เป็นปู่เป็นทวดอย่างไรก็เอ่ยให้ถูกต้องก็ใช้ได้แล้ว  และคนกล่าวอาวุโสรองลงมาตามลำดับ  จะต้องเอ่ยชื่อ นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้องครบถ้วนทุกคน  เพื่อแสดงความรำลึกกตัญญู  ในขณะกล่าวเชิญก็กรวดน้ำไปด้วย

 



           เมื่อครบทุกคนแล้วก็หยุดพักระยะหนึ่ง  แล้วทำพีธีต่ออีกจนครบคนละ 3 รอบ  รอบสุดท้ายนี้ให้รวมหยาดน้ำพร้อมกันเป็นอันเสร็จพิธี  แล้วนำเครื่องเซ่นส่วนหนึ่งออกไปโปรยข้างนอกเพื่อเผื่อแผ่แก่ผีพเนจร ผีไม่มีญาติ ผีอื่น ๆ ตามความเชื่อ  แต่ผู้เฒ่าผู้แก่จะยังทำพิธีเซ่นไหว้และกรวดน้ำนี้เป็นระยะ ๆ บางคนก็ทำตลอดคืน  ตื่นนอนเมื่อไรก็เซ่นไหว้กันตอนนั้น  ดึก ๆ เงียบสงัดจะได้ยินเสียงบ้านใกล้เรือนเคียงร้องเรียกวิญญาณบรรพบุรุษดังมา เป็นระยะ ๆ  บางครั้งก็ให้รู้สึกโหยหวนวังเวงน่าขนลุกเหมือนกัน  

          


                พอได้เวลาตีสาม หรือเวลาประมาณ 3 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น(แรม 15 ค่ำเดือน 10 )  ชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นนี้ไปแห่เวียนรอบศาลาวัดหรืออุโบสถ 3 รอบ แล้วนำขึ้นไปให้พระสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลทำพิธีกรรมทางศาสนา  โดยนำขนมข้าวต้ม กล้วยเป็นกระบุง ไก่ย่างเป็นตัว อาหารคาวหวานผลไม้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวถวายพระแล้ว  พระจะได้ฉันมื้อนี้แต่เช้ามืด



เครื่องเซ่นไหว้ที่นำไปวัด

       




                    เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นที่พระสวดแล้วไปวางตามสถาน ที่ที่เหมาะสมเช่น ตามรั้ววัด ตามธาตุเจดีย์  หรือตามโคนไม้  เพื่อผีวิญญาณจะได้มากิน  บางคนก็นำออกไปวางตามไร่นาของตน ตามที่คิดว่าน่าจะมีผีเจ้าสถิตย์อยู่


 



       
               เสร็จแล้วก็กลับบ้าน ไปเตรียมข้าวและอาหารมาทำบุญตักบาตร วันนี้วันพระ แรม 15 ค่ำ เดือน 10   ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนจะร่วมใจกันทำบุญประเพณีแซนโดนตาครั้งนี้  โดยพระสงฆ์จะได้รับภัตตาหารฉันในมื้อเช้านี้อีก  ส่วนตอนเที่ยงก็จะได้รับภัตตาหารเพลปกติ  รวมวันนี้พระจะได้ฉันอาหาร  3  มื้อ


      

              ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามประเพณีนี้ ทำให้รู้จักการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ  สืบสานพระพุทธศาสนา มีวัฒนธรรมและจารีตที่งดงา

แหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น



 แหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น

ปราสาทภูมิโปน
            ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์   ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน ๔ หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ ๓ หลัง และก่อศิลาแลง ๑ หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลัง ปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกายเช่นเดียว กับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเคารพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับ พื้นห้อง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๗๗ (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง ๔๙ กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๔ (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก ๑๐ กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

ปราสาทภูมิโปน






                ในด้านโบราณสถานที่สำคัญ  อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยเจนละ  ก็คือปราสาทภูมิโปน  ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม  อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์  ปราสาทหลังนี้ถึงแม้ว่านักโบราณคดีจะลงความเห็นว่าเป็นแบบไพรกะเม็ง  ซึ่งเป็นยุคต่อจากแบบสัมโบร์ไพรกุก  แต่ถ้าหากเราเปรียบเทียบรูปแบบกับปราสาทสัมโบร์ไพรกุก  ที่ประเทศกัมพูชา   แล้วจะเห็นได้ว่าแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย  จึงทำให้เชื่อว่าเป็นแบบสัมโบร์ไพรกุกมากกว่า
ปราสาทภูมิโปน    ชื่อปราสาทมีความหมายว่า  ที่หลบซ่อน
                มีเรื่องเล่าว่า พระธิดาของกษัตริย์ ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม
ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยปราสาทอิฐสามหลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีกหนึ่งหลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ดังนี้
                ปราสาทอิฐหลังที่ ๑ อยู่ทางด้านเหนือสุด มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม เหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายสลักลวดลาย ลักษณะเทียบได้กับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร แบบไพรเกมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓


  ปราสาทอิฐหลังที่ ๑


                ปราสาทหินหลังที่ ๒ อยู่ต่อจากปราสาทหินหลังแรกมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตูหินทราย




  ปราสาทหินหลังที่ ๒ (ปัจจุบัน)
                                                   วิหารที่ปราสาทภูมิโปน ถ่ายจากด้านหน้า (ภาพ: มานิต วัลลิโภดม, ๒๕๐๔) 

                                                                                              

               ปราสาทหินหลังที่ ๓ หรือปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสไม่ย่อมุม มีบันได และประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก  เสาประดับ กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปเป็นลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง เทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ ๑ ได้พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท
                

 ปราสาทหินหลังที่ ๓ หรือปรางค์ประธาน


ฐานปราสาทศิลาแลง อยู่ต่อจากปราสาทประธานมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเท่านั้น
ปราสาทหลังนี้และปราสาทหลังที่สองคงสร้างในสมัยต่อมาซึ่งไม่อาจกำหนดอายุได้ ชัดเจน จากส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เสาประดับ กรอบประตูที่เหลืออยู่เป็นเสาแปดเหลี่ยมอันวิวัฒนาการมาจากเสากลมในสมัยก่อน เมืองนคร ตลอดจนการก่อฐานปราสาทด้วยศิลาแลง ทำให้สามารถกำหนดได้ว่า ปราสาททั้งสองหลังนี้คงจะสร้างขึ้นหลังจากปราสาทประธาน และปราสาทหลังที่หนึ่ง

  ฐานปราสาทศิลาแลง อยู่ต่อจากปราสาทประธาน

               
ตำนานปราสาทภูมิโปน เป็นเรื่องเล่าที่คนแก่เล่าสืบต่อกันมา สั้นบ้างยาวบ้าง มีการต่อเติมเสริมแต่งตามแต่ผู้เล่าจะแถมเอา แต่โครงสร้างหลักๆ คล้ายกัน เรื่องต่อไปนี้เล่าโดย นายบุญ ภาวิสิทธิ์ ราษฎรบ้านตาพราม จำตำนานเรื่องนี้ขณะบวชอยู่วัดเทพคีรีอุดม ระหว่าง พ.ศ. 2474 –2476 นายบุญ ภาวิสิทธิ์เกิดปี พ.ศ. 2464
          เรื่องเล่าโดยย่อ ดังนี้ เมืองภูมิโปน คือเมืองที่สร้างไว้เพื่อการหลบซ่อน เมือเดิมเมืองภูมิโปนมีมาก่อนแล้ว โดยกษัตริย์ขอมได้สร้างเมืองนี้ไว้เพื่อการหลบซ่อนตัวในยามสงคราม โดยภูมิโปนเป็นภาษาเขมร แปลว่าเมืองแห่งการหลบซ่อนสร้างไว้เป็นเมืองลัย ครั้งหนึ่งกษัตริย์ขอมได้ส่งราชธิดาหนีภัยมาหลบตัวอยู่ที่ภูมิโปนโดยมีพระ นางมีชื่อว่า ศรีจันทร์ทรา แต่คนทั่วไปเรียกว่า เนียง ด็อฮ ทมหรือพระนางนมใหญ่

 

          สภาพโดยทั่วไป ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่บนเนินสูงกลางหมู่บ้านภูมิโปน ซึ่งเป็นชุมชนเมืองโบราณ ทีมีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบ มีสระน้ำโบราณขนาดใหญ่ที่ออกแบบซับซ้อนหลายสระ
ด้านหน้าปราสาท ทางทิศตะวันออกเริ่มตั้งแต่สระลำเจียก สระตา สระกนาล ที่ซ้อนอยู่ภายในสระตาอีกชั้นหนึ่ง สระตราวที่อยู่ถัดจากสระตา



               ภาพดาวเทียมปราสาทภูมิโปน   เป็นภาพจาก Google Earth เอามาให้ดูจะได้เห็นว่าบริเวณรอบๆ โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทภูมิโปนมีลักษณะคล้ายๆ สระน้ำอยู่จำนวนมาก
 
          มีพิพิธภัณฑ์ ของโบราณ จำนวน 1 แห่ง อยู่ทีพิพิธภัณฑ์ โรงเรียนดมวิทยาคาร
          ที่อยู่
โรงเรียนดมวิทยาคาร ต.ดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๕๐
โทรศัพท์: ๐๔๔ ๕๙๐๓๘๑, ๐๘๑ ๗๖๐๑๗๔๓

           ผู้รับผิดชอบ
ผู้อำนวยการโรงเรียนดมวิทยาคาร

           กิจกรรมที่ดำเนินการ
จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา และ โบราณวัตถุ ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ของคนในสมัยโบราณ